วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

นิพจน์ปรกติ ( Regular Expressions) Part1

บทนี้ว่าด้วยเรื่อง  นิพจน์ปรกติ ( Regular Expressions)😒 มาไทยๆเลยวันนี้
ต้องขอบคุณบทความนี้จาก wikipedia ครับ มาเริ่มกันเลยมันคืออะไร

นิพจน์ปรกติ (อังกฤษregular expression สามารถย่อได้เป็น regexp หรือ regex) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือ สตริที่อธิบายถึงรูปแบบของสตริงตามโครงสร้างรูปแบบที่กำหนด ในการค้นหาและปรับเปลี่ยนข้อความ ภาษาโปรแกรมหลายภาษายังรองรับการใช้นิพจน์ปรกติสำหรับการจัดการและปรับเปลี่ยนสตริง

❓❓❓ เริ่มต้นคงงงกันหน่อย เริ่มตัวแรกอย่างง่ายน่าจะพอจำได้กันคือ *  เครื่องหมายดอกจันนะครับก็อยู่ในกลุ่ม Regular เช่นกัน

🙋โทษครับผมไม่รู้จักมันคืออะไร และใช้ยังไง
💻 เอาตัว*  เครื่องหมายดอกจันแล้วกันนะครับ หมายถึง ให้เป็นตัวอักษรใดๆก็ได้(ไม่มีอักษรก็นับ) นับตั้งแต่อักษรก่อนหน้านี้ 0คำขึ้นไป เช่น  ถ้าเรามีคำ  Good Gold  Gd  God
        ถ้าเราสนใจแต่ตัวแรกเป็น G และตัวสุดท้ายคือd โดยไม่าสนใจตัวกลาง เราก็สามารถเขียนเป็นรูปแบบ  Go*d
        หมายเหตุ ถ้า * ไปใช้กับการหาคำ จะหมายความว่า การทำซ้าจากตัวหน้า

💻  ตัวจุด (.) คือ อักษรใดๆ 1 ตัว ใช้บนคำ เท่านั้น 🚫ห้ามใช้บนการหาไฟล์   (งงไหมครับ)
ยกตัวอย่างการใช้จุด  
รูปแบบคำสั่ง  findsrt  [คำ] [ไฟล์]


จากรูป การใช้1จุดเพื่อแทนการหา1อักษรระหว่าง G และ d เท่านั้น
ส่วนบรรทัดที่สอง การใช้2จุดเพื่อแทนการหา2อักษรระหว่าง G และ d เท่านั้น

หรืออีกวิธีการใช้จุด(.)และดอกจัน(*)ผสมกันในการหาคำ ในไฟล์ ระหว่าง


👤บางคนอาจจะถามว่า ทำไมไม่ตัดจุดออกละครับ ในเมื่อเราจะเอาทุกคำ


💫ผลออกมาได้มาไม่ตรงกับที่เราคิด💫 เพราว่าดอกจันหมายถึงทำซ้ำบนการหาคำหาใช้เดียวๆหมายถึง
1.ตัดตัวที่อยู่หน้าดอกจันออก เพื่อหาผล  >> Gd  และ God
2.มองหาตัวที่เหมือนกับตัวอักษรหน้าดอกจันมาแทนตัวเอง Good


ส่วนการใช้ดอกจับบน คำสั่งDir ก็ยังเหมือนเดิม เป็นทุกตัวอักษรครับ
💻 ถ้ามีไฟล์ serial number  ที่เราต้องการหาเฉพาะก็ได้   >> dir EADSS*.log หรือ  ต้องการทุกนามสกุล 95521.*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น